วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บ้านคลองวาฬ ประจวบคีรีขันธ์

บ้านคลองวาฬ ประจวบคีรีขันธ์

       เมืองประจวบคีรีขันธ์แต่เดิมเป็นเมืองที่เกิดขึ้นโดยการรวมหัวเมืองต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยเมืองบางนางรม เมืองกุยบุรี และเมืองคลองวาฬเข้าเป็นเมืองเดียวกัน ดินแดนก่อนที่จะเป็นเมืองคลองวาฬนั้น ก็คงจะเป็นหมู่บ้านหรือชุมชนชายทะเลที่มีประชากรไม่มากนัก แต่ต่อมามีผู้อพยพมาอาศัยอยู่และทามาหากินกันมากขึ้น อีกทั้งเป็นพื้นที่ที่สาคัญทางยุทธศาสตร์เพราะใกล้กับช่องเขาที่ทั้งคนไทยและคนพม่าใช้เป็นหนทางเข้าสู่ดินแดนของกันและกันโดยเรียกกันว่า ด่านสิงขร” เมืองคลองวาฬเป็นเมืองหน้าด่านที่สาคัญเมืองหนึ่งในจานวนหัวเมืองปักษ์ใต้ ๒๐ หัวเมือง เช่น เมืองปราณ เมืองกุย เมืองกำเนิดนพคุณ เป็นต้น

        เมื่อกองทัพพม่าเคลื่อนทัพเข้ามาทางด่านสิงขรเพื่อจะไปโจมตีกรุงศรีอยุธยาพระคลองวาฬผู้เป็นเจ้าเมืองคลองวาฬ ก็จะเกณฑ์คนในเมืองคลองวาฬให้ไปช่วยรบสกัดกั้นมิให้กองทัพพม่าผ่านไปโจมตีกรุงศรีอยุธยา อนึ่ง ตั้งแต่สมัยของสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชเป็นต้นมายามเมื่อปลอดศึกสงครามจะมีพ่อค้าชาวต่างประเทศผ่านพม่าเข้ามาทางด่านสิงขร แล้วมาลงเรือที่เมืองคลองวาฬบ้างที่เมืองอู่ตะเภาบ้างอยู่เป็นประจา เพื่อเดินทางไปติดต่อค้าขายที่กรุงศรีอยุธยา  ต่อมาประมาณ พ.ศ.๒๓๓๖ ซึ่งเป็นช่วงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกทัพไปตีเมืองเมาะตะมะและเมืองร่างกุ้ง การเคลื่อนกองกาลงทัพเข้าตีเมืองพม่าในครั้งนี้ได้ใช้เส้นทางช่องเขาด่านสิงขร เมื่อศึกสงครามสาเร็จลงพระองค์ก็ทรงแบ่งเขตการปกครองดินแดนปักษ์ใต้เป็น ๒๐ หัวเมือง ซึ่งเมืองคลองวาฬก็ยังคงเป็นหัวเมืองหนึ่งใน ๒๐ หัวเมืองเหล่านั้นด้วย

       ครั้นปี พ.ศ.๒๓๙๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ทรงจัดตั้งเขตปกครองใหม่อีกครั้ง โดยการรวม ๓ หัวเมืองที่มีอาณาเขตติดต่อกันคือ เมืองกุยบุรี เมืองบางนางรม และเมืองคลองวาฬ เข้าเป็นหัวเมืองใหญ่ มีชื่อเรียกใหม่ว่า “ประจวบคีรีขันธ์"ส่วนชื่อเรียกหัวเมืองเดิมว่า คลองวาฬ ก็ลดฐานะลงเป็นชื่อเรียก “ตำบลคลองวาฬ"เป็นตำบลหนึ่งของเมืองประจวบคีรีขันธ์เท่านั้น (แต่ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ บันทึกไว้ว่าเมืองขึ้นกลาโหม เมืองคลองวาฬแก้เป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองท่าทองแก้เป็นเมืองกาญจนดิตถ์รวม ๒ เมือง)ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เมื่อปีพ.ศ.๒๔๑๑พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔ ทรงเสด็จประพาสมายังเมืองประจวบคีรีขันธ์ และได้เสด็จมาที่ตำบลคลองวาฬ เพื่อทรงกล้องทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่หมู่บ้านหว้าก้อ เพราะพระองค์เมื่อคำนวณตามวันเวลาแล้วทรงเชื่อมั่นว่าพื้นที่แถบชายทะเลหมู่บ้านหว้ากอ ตาบลคลองวาฬนี้้เป็นจุดทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงได้ชัดเจนที่สุด ซึ่งก็เป็นไปตามที่พระองค์ทรงคำนวณไว้ทุกประการ  ดังนั้นคลองวาฬจึงเป็นดินแดนที่มีความสำคัญมาช้านานทั้งในฐานะเมืองเก่าและแหล่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์



ข้อมูลทั่วไปในปัจจุบัน
       ตำบลคลองวาฬ เป็นตำบลในเขตการปกครองของอำเภอเมือง ประกอบไปด้วย 9 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านคลองวาฬ หมู่ 2 บ้านหนองหิน หมู่ 3 บ้านทางหวาย หมู่ 4 บ้านหว้าโทน หมู่ 5 บ้านห้วยใหญ่ หมู่ 6 บ้านด่านสิงขร หมู่ 7 บ้านสวนขวัญ หมู่ 8 บ้านนาทอง หมู่ 9 บ้านหนองน้ำขาว
อาณาเขตตำบล :
       ทิศเหนือ ติดกับ ต.เกาะหลัก อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์
       ทิศใต้ ติดกับ ต.ห้วยทราย อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์
       ทิศตะวันออก ติดกับ อ่าวไทย
       ทิศตะวันตก ติดกับ สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
       จำนวนประชากร 2,029 หลังคาเรือน

การเดินทางสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ทางรถยนต์ 
       จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35) ผ่านสมุทรสงครามแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่านเพชรบุรีเข้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หรือจากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านพุทธมณฑล นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ถึงประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทาง 281 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง
รถโดยสารประจำทาง
       จากสถานีขนส่งสายใต้ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี (ถนนบรมราชชนนี) มีบริการรถโดยสารสายกรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์ กรุงเทพฯ-หัวหิน กรุงเทพฯ-ปราณบุรี และกรุงเทพฯ-บางสะพาน เป็นประจำทุกวัน
ทางรถไฟ 
       จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีบริการรถไฟไปหัวหิน ปราณบุรี และประจวบคีรี- ขันธ์ ทุกวัน

และนี่แหละครับคือประวัติสถานที่พบ ปลานวลจันทร์ทะเลเป็นครั้งแรก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น