วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปลานวลจันทร์ทะเลแปรรูป-ภายในประเทศ

        จากบทความที่แล้ว ปลานวลจันทร์ทะเลแปรรูป-ในต่างประเทศ จะเห็นได้ว่า ต่างประเทศ นั้น รัปประทานกันอย่างแพร่หลาย และถือว่าเป็นปลาที่มีมูลค่าทางตลาดที่สูงมาก ตัวหนึ่ง ส่วนภายในประเทศที่ผ่านมากรมประมง โดยกองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ร่วมกับศูนย์ฯ ประจวบคีรีขันธ์ ได้ส่งเสริมการเลี้ยง การแปรรูป ผ่านวิธีการฝึกอบรมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้านประมงชายฝั่งทุกปี ทั้งเร่งพัฒนากาเทคนิคการเพาะพันธุ์รวมทั้งศึกษาวิจัยให้ปลานวลจันทร์สามารถวางไข่ผสมพันธุ์ได้ตลอดปีอย่างต่อเนื่อง และประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรรวบรวมลูกปลาที่เกิดเองในธรรมชาติมาส่งให้ศูนย์ฯ เป็นผู้แจกจ่าย จำหน่ายให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ จนถึงทุกวันนี้ ก็ได้มี กลุ่มเกษตรกร-กลุ่มแม่บ้าน ในพื้นที่บ้านคลองวาฬ ได้รวมตัวกันในชื่อ "กลุ่มปลาคลองวาฬ" ทำการแปรรูป ปลานวลจันทร์ทะเลที่เกษตรกรเลี้ยงจนโต ให้เป็น สินค้าสำเร็จรูปพร้อมที่จะนำไปปรุงอาหาร นับเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ปลานวลจันทร์ทะเลและเพิ่มรายได้ให้เศษรฐกิจภายในชุมชน อีกทางหนึ่ง












Read More...

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

นู๋นวลชวนเที่ยว-เขาล้อมหมวก

       สวัสดีคะ นุ๋นวลมาพาท่านผุ้อ่านเที่ยวกันอีกนะคะ วันนี้จะพาไปเยี่ยมพี่ค่างแว่นคะ   พี่ค่างแว่น จะอยู่กันเป็นฝูง บริเวณเชิงเขาล้อมหมวก ใกล้กับศาลเจ้าพ่อเขาล้อมหมวก ซึ่งเวลาท่านผู้อ่านมาสักการะเจ้าพ่อหรือมาเที่ยวแล้วจอดรถตามร่มไม้  พี่ค่างแว่นชอบจะมาอาศัยตามร่มไม้นี้หละคะในช่วงเช้า ถ้าท่านผู้อ่านพบเจอพี่ค่างก็ส่ามารถนำอาหารมาให้ฝูงพี่ค่างแว่นได้ แต่ต้องเตรียมมาเองนะคะ เช่นพวกถั่ว พวกกล้วย ที่เป็นอาหารผลไม้ธรรมชาติ พี่ค่างแว่นนี้ค่อนข้างสุภาพคะ ไม่ยื้อแย่งอาหารจากมือ ไม่เหมือนพี่ลิงที่อยู่เชิงเขาช่องกระจก(ซนมาก)


       ส่วนเขาล้อมหมวกนี้ เป็นภูเขาหินปูน อยู่ที่ยอดแหลมระหว่างอ่าวมะนาว และอ่าวประจวบคีรีขันธ์  บริเวณยอดเขาล้อมหมวกมีพระพุทธบาทจำลอง ตั้งอยู่ และเป็นจุดท่องเที่ยวที่ในปัจจุบันนิยมใช้ ปีนเขา-ชมวิวที่สวยงามของอ่าวประจวบ และอ่าวมะนาว คะ


       ทั้งเขาล้อมหมวกและอ่าวมะนาวปัจจุบันอยู่ในเขตกองบิน 53 กองพลบินที่ 4 ห่างจากตัวเมืองประจวบไปทางใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร   ลักษณะที่ตั้ง เป็นแหลมยื่นออกไปในทะเลด้านตะวันออก   มีอาณาเขต ทิศเหนือเป็นอ่าวประจวบ ด้านทิศใต้เป็นอ่าวมะนาว  และด้านตะวันตกเป็นตัวเมืองประจวบ ฯ (ในอดีตเขาล้อมหมวกเป็นที่หลบภัยของครอบครัวทหารและชาวบ้านในขณะที่ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่อ่าวมะนาว)

       ท่านผู้อ่านสามารถเดินทางจากอ่าวมะนาวเข้ามาในเขตกองบินที่ 53 โดยผ่านจุดตรวจ หรืออีกเส้นทางหนึ่งเดินทางจากอ่าวประจวบคีรีขันธ์ สุดถนนเลียบหาดทางทิศใต้มีถนนไปยังทางเข้าประตูกองบินที่ 53 ขับตามถนนไปทางซ้ายมือมีที่จอดรถบริเวณเชิงเขา (อย่างลืมแวะร้านอาหารในกองบินนะคะ นู๋นวลคอยท่านผู้อ่านอยู่ที่นี่ด้วย)

จบทริปนะคะ มีภาพสวยแล้ว-มีที่เที่ยวแล้ว-มีที่กินแล้ว อ้อทริปหน้า ไปด่านสิงขร กันคะ



 




Read More...

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

นู๋นวลชวนเที่ยว-อ่าวประจวบ

นู๋นวลชวนเที่ยว-อ่าวประจวบ(อ่าวเกาะหลัก) 

       สวัสดีคะ นู๋นวลมาพบกับท่านผุ้อ่านอีกครั้งนะคะ วันนี้นู๋นวลนำรุปสวยๆมาฝากและขอพาท่านทั้งหลายไปเที่ยวกันนะคะ ภาพที่เห็นก็เป็นบรรยากาศสวยๆ รวมๆในอ่าวประจวบ(อ่าวเกาะหลัก) อย่างแรกที่ต้องพูดถึงก็คือ วัดเขาช่องกระจก (มุมขวาบน) วัดที่เป็นแหล่งรวมจิตใจของชาวประจวบ ถัดลงมาส่านที่เห็นเป็นแสงไฟทางยาวไปด้านซ้าย ก็คือ หาดหน้าเมือง มีถนนเลียบชายหาด โดยทางเทศบาลได้สร้างเขื่อนคอนกรีตขนานไปกับถนน ความยาวประมาณ 2 กม มีแหล่งกินประเภทร้านอาหารทะเล ร้านข้าวต้มเรียงรายอยู่มากมายหลายร้าน ถ้าจะหาทะเลเผา น้ำจิ้มรสเด็ด ก็ถนนนี้หละคะ หาดหน้าเมือง นี้เป็นหาดทรายขาวและน้ำทะเลใส สามารถนั่งชมบรรยากาศชายทะเลได้ หรือจะไปนั่งพักผ่อนกับนู๋นวลในศาลาใกล้เชิงเขาช่องกระจกก็ได้นะคะ และที่เป็นพระเอกของภาพ คือ วิถีชีวิตของชาวบ้านประจวบ ที่ทำอาชีพประมงตกหมึก กำลังจะนำเรือคู่ชีพออกสู่ท้องทะเล



        อีกนิดนะคะ นู๋นวลติดสาระน่ารู้ มาคะ เกี่ยวกับ ระดับน้ำทะเลปานกลาง (Mean Sea Level) หรือ ร.ท.ก. เป็นค่าการวัด ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด (High Tide : HT) และลงต่ำสุด (Low Tide : LT) ของแต่ละวันในช่วงระยะเวลาที่กำหนด แล้วนำค่ามาเฉลี่ยเป็นระดับน้ำทะเลปานกลาง สำหรับระยะเวลาที่ทำการรังวัดโดยทั่วไปจะต้องวัดเป็นเวลา 18.6 ปี ตามวัฏจักรของน้ำ ระดับน้ำทะเลปานกลางของแต่ละบริเวณทั่วโลกอาจจะมีความสูงไม่เท่ากัน ในประเทศไทยใช้เวลาในการวัด 5 ปี โดยเลือกที่ตำบลเกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่วัด แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย เพื่อใช้เป็นค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้มีค่า 0.000 เมตร ทำการถ่ายโยงมายังหมุด BM-A (ซึ่งถือว่าเป็นหมุดหลักฐานหมุดแรกของประเทศไทย) ซึ่งมีค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1.4477 เมตร ประโยชน์ของการวัดระดับน้ำทะเลปานกลาง เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบระดับความสูงต่ำของดิน หรือสิ่งก่อสร้างในงานสำรวจ งานก่อสร้างและงานทั่วไป (wiki) 

       ติดตามกันนะคะว่า ทริปหน้า นู๋นวลจะพาไปเที่ยวที่ไหนอีก เหมือนที่ภาพนี้ได้ ทำให้ผู้อ่าน ได้ดูภาพสวยๆ รู้ที่ไหว้พระ และจะไปฝากท้องกันที่ไหน ในภาพเดียว ....
Read More...

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปลานวลจันทร์ทะเลแปรรูป-ในต่างประเทศ

ปลานวลจันทร์ทะเลแปรรูป-ในต่างประเทศ 

       ที่ประเทศไต้หวันซึ่งเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลหลังประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศฟิลิปปินส์เองก็จัดว่าปลานวลจันทร์ทะเลเป็นปลาประจำชาติของเขาเลยทีเดียว แต่ถ้าเรื่องการเลี้ยง และการกินแล้วต้องยอมรับว่าไต้หวันพัฒนาไปเร็วมากมีโรงเพาะพันธุ์และบ่อเลี้ยงจำนวนมาก ที่ผ่านมามีโอกาสไปดูงานที่ไต้หวัน ก็พบว่าไต้หวันมีฝีมือการแปรรูปพร้อมเพิ่มมูลค่า ปลานวลจันทร์ทะเลได้เยี่ยมยุทธมากเทียบกับฟิลิปปินส์ที่เป็นต้นตำรับ แต่พัฒนาผลผลิตปลานวลจันทร์ไปเป็นปลาไร้ก้าง ปลายัดไส้ ปลาก้างนิ่มและทำเป็นปลากระป๋อง เท่านั้น ที่จังหวัดเกาสงของไต้หวัน เราไปเดินตลาดยามค่ำคืน ตามร้านข้าวต้มและอาหารตามสั่งแทบทุกร้านจะมีผนังท้องหรือพุงปลานวลจันทร์ (Belly) วางขายอยู่ดาษดื่นทั่วไป (commodity) และเป็นที่นิยมบริโภคของชาวไต้หวันเสียด้วย เราสั่งซุปหรือเกาเหลาปลานวลจันทร์ทะเลมากินตกชามละ 80 บาท อร่อยมากไม่เจอก้างสักอันเลย




       ส่วนที่ตลาด “หงหลง” ในช่วงสายเมื่อคนบางตาแล้ว เราไปดูเขาแปรรูปปลานวลจันทร์ทะเล โดยการตัดหัว ถลกหนัง แล่เนื้อ และทำลูกชิ้นปลานวลจันทร์ทะเล เห็นแล้วประทับใจมาก ที่เขาช่างมีพรสวรรค์และทำได้เร็วมากแถมยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับปลานวลจันทร์อีกเยอะ หัวเอาไปดูด หนังเอาไปทอด เนื้อติดก้างเอาไปทำลูกชิ้น โดยเฉพาะลูกชิ้นปลานวลจันทร์ทะเลของ เขาอร่อยเหาะจริงๆ อยากได้สูตรมาทำขายที่เมืองไทยมากแต่มีข้อแม้ว่าต้องไปอยู่เป็นลูกจ้างเขาที่นู่นก่อน สำหรับเมือง “ปิงตง” เราอยากจะเรียกว่านี่คือเมืองหลวงด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ของไต้หวันเลยทีเดียว เพราะเขาเพาะเลี้ยงปลาหมอทะเล ปลากุเรา ปลากระบอกและปลานวลจันทร์ทะเลกันเป็นธุรกิจใหญ่โตมาก มีโอกาสไปเยี่ยมโรงเพาะฟักปลาหมอทะเลใช้มีเพียงสอง คนแม่ลูกแต่ได้ผลผลิตลูกปลาหมอทะเลมหาศาลแถมยังสะอาดนน่าทำงานมาก ไปดูการเพาพันธุ์ปลากุเราที่เมืองไทยทำปลาเค็มกันเห็นว่าเขาทำมานานแล้วในบ่อดินผนังคอนกรีต เคล็ดลับ สำคัญที่ทำให้ไต้หวันเป็นมือเพาะอันดับต้นๆ ก็คือการผลิตอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน นั่นก็คือเจ้า โรติเฟอร์ ที่การเพาะไม่ต้องใช้เทคนิคยุ่งยากซับซ้อน ไม่มีแม้กระทั่งการให้อากาศแต่ได้ผลผลิต มหาศาลกันเลยทีเดียว แบบนี้เรียกว่าตัวจริงเสียงจริง ผู้น้อยขอคารวะ




Read More...

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปลานวลจันทร์ทะเล-07 (สาระน่ารู้ 3)

ปลานวลจันทร์ทะเล-07 (สาระน่ารู้ 3)

4. แนวคิดที่เหมาะสมต่อการลดปุ๋ยและแพลงก์ตอนส่วนเกินในบ่อเลี้ยงกุ้ง

       แนวคิดการใช้ “สาหร่ายทะเล” ชนิดต่างๆ ที่เหมาะสมแต่ละย่านความเค็มของน้ำทะเลที่ใช้เลี้ยงกุ้งทะเลโดยเฉพาะท่านผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ดร.คมน์ ศิลปาจารย์ ท่านเล่าให้ฟังว่า สาหร่ายทะเลจะทำหน้าที่ดึงปุ๋ย (N, P, K) ส่วนเกินที่เกิดในบ่อเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนาทั้งจากสิ่งขับถ่ายกุ้ง เศษอาหาร การตายของแพลงก์ตอนพืชในบ่อ อันจะเป็นเชื้อชนวนให้เกิดการบลูม (Bloom) ของแพลงก์ตอนพืชจำนวนมาก และเมื่อแพลงก์ตอนเหล่านี้มีการตาย สิ่งที่จะตามมาคือการเน่าเสีย เกิดสารก่อภูมิแพ้ คือเจ้าแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรด นี่เอง นี่ละครับตัวการที่ทำให้กุ้งเครียด ไม่กินอาหาร อ่อนแอ ติดเชื้อง่าย และตายในที่สุด นอกจากนี้ผลพลอยได้ที่ตามมาคือสาหร่ายทะเลที่มีซอกหลืบให้แพลงก์ตอนสัตว์ที่กินแพลงก์ตอนพืช ยีสต์ โปรโตซัว แบคทีเรีย เช่น โรติเฟอร์ โคพีพอด แมลงน้ำชนิดต่างๆ ได้อาศัยหลบซ่อนตัวยืดเวลาการถูกกุ้งจับกินออกไป ขณะเดียวกันก็เติบโตผสมพันธุ์สร้างผลผลิตส่วนเกินออกมาเป็นอาหารแก่กุ้งปลาต่อไป

5. ปลานวลจันทร์ทะเลที่ปล่อยในบ่อเมื่อโตแล้วเอาไปทำอะไร

       การเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลแบ่งเป็น ๒ แบบ แบบแรกคือการปล่อยเลี้ยงในบ่อพักน้ำกินอาหารธรรมชาติทีมีอัตราความหนาแน่นต่ำมาก จึงเจริญเติบโตได้เร็วกว่าการเลี้ยงแบบหนาแน่นในบ่อแบบพัฒนาหรือมีขนาด 1,000 - 1,500 กรัม ภายในเวลา 7-8 เดือน แต่ผลผลิตปลาที่ขนาดต่างกันและมีจำนวนไม่มาก รวมทั้งไม่มีความต่อเนื่อง ก็จะไม่มีอำนาจต่อรองทางการตลาด และปลานวลจันทร์นี้หากจะนำมาบริโภคต้องนำไปบั้งให้ถี่ก่อนเคล้าเกลือแล้วนำไปทอด เนื่องจากเป็นปลาที่มีก้างในตัวมาก ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่คนทั่วไปไม่ค่อยนิยมบริโภคแม้ว่ารสชาติจะดีเอามากๆ นอกจากนี้อาจนำไปต้มเค็มหวานแบบปลาตะเพียน เคี่ยวให้ก้างนิ่ม หรือเมนูยอดนิยมอีกอย่างคือ แล่เป็นชิ้นปรุงรส ตากแห้งแดดเดียว ก็อร่อยไม่เบา ที่แนะนำแบบนี้คือต้องทำเองนะครับเพราะอย่างที่บอกว่าผลผลิตจำนวนน้อยเมื่อนำไปขายตลาดมักจะไม่มีอำนาจต่อรองครับ


       ส่วนแบบที่สองเป็นการเลี้ยงแบบพัฒนาที่มักปล่อยปลากัน 20,000-40,000 ตัว/ไร่ และใช้เวลาเลี้ยง 8-10 เดือน จึงจะได้ขนาดที่ตลาดต้องการหรือ ขนาดระหว่าง 700-800 กรัม แต่การเลี้ยงแบบพัฒนาก็จะต้องให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปชนิดลอยน้ำ มีการเพิ่มอากาศด้วยใบพัดตีน้ำและการสูบเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง จากการศึกษาพบว่าปลานวลจันทร์ที่เลี้ยงน้ำกร่อยหรือน้ำทะเลความเค็มไม่สูงมากนักจะโตเร็วกว่าการเลี้ยงในน้ำความเค็มสูงหรือร่นระยะเวลาลงเหลือ 7-8 เดือน ทีเดียว สำหรับราคาปัจจุบันซื้อขายกันที่ปากบ่อ กิโลกรัมละ 70 บาท เชียวนะครับ ทั้งนี้ต้นทุนอยู่ประมาณ 8-30 บาท/กิโลกรัม ในอนาคตหากมีการพัฒนาการเลี้ยงโดยใช้หญ้าเลี้ยงสัตว์บกที่มีโปรตีนสูงเป็นอาหารเสริมก็อาจช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงลงได้บ้าง ปลาที่ได้ส่วนใหญ่ก็ส่งตลาดกรุงเทพฯ ให้คนไทยเชื้อสายจีนและชาวไต้หวันที่อยู่เมืองไทยได้ซื้อหามาบริโภคกัน


ที่ผ่านมากรมประมง โดยกองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ร่วมกับศูนย์ฯ ประจวบคีรีขันธ์ ได้ส่งเสริมการเลี้ยง การแปรรูป เป็นปลานวลจันทร์ถอดก้าง ปลาก้างนิ่มรมควันเพื่อขจัดปัญหาก้างจำนวนมากในเนื้อ ผ่านวิธีการฝึกอบรมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้านประมงชายฝั่งทุกปี ทั้งเร่งพัฒนากาเทคนิคการเพาะพันธุ์รวมทั้งศึกษาวิจัยให้ปลานวลจันทร์สามารถวางไข่ผสมพันธุ์ได้ตลอดปีอย่างต่อเนื่อง และประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรรวบรวมลูกปลาที่เกิดเองในธรรมชาติมาส่งให้ศูนย์ฯ เป็นผู้แจกจ่าย จำหน่ายให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการต่อไป

Read More...