วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปลานวลจันทร์ทะเลแปรรูป-ในต่างประเทศ

ปลานวลจันทร์ทะเลแปรรูป-ในต่างประเทศ 

       ที่ประเทศไต้หวันซึ่งเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลหลังประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศฟิลิปปินส์เองก็จัดว่าปลานวลจันทร์ทะเลเป็นปลาประจำชาติของเขาเลยทีเดียว แต่ถ้าเรื่องการเลี้ยง และการกินแล้วต้องยอมรับว่าไต้หวันพัฒนาไปเร็วมากมีโรงเพาะพันธุ์และบ่อเลี้ยงจำนวนมาก ที่ผ่านมามีโอกาสไปดูงานที่ไต้หวัน ก็พบว่าไต้หวันมีฝีมือการแปรรูปพร้อมเพิ่มมูลค่า ปลานวลจันทร์ทะเลได้เยี่ยมยุทธมากเทียบกับฟิลิปปินส์ที่เป็นต้นตำรับ แต่พัฒนาผลผลิตปลานวลจันทร์ไปเป็นปลาไร้ก้าง ปลายัดไส้ ปลาก้างนิ่มและทำเป็นปลากระป๋อง เท่านั้น ที่จังหวัดเกาสงของไต้หวัน เราไปเดินตลาดยามค่ำคืน ตามร้านข้าวต้มและอาหารตามสั่งแทบทุกร้านจะมีผนังท้องหรือพุงปลานวลจันทร์ (Belly) วางขายอยู่ดาษดื่นทั่วไป (commodity) และเป็นที่นิยมบริโภคของชาวไต้หวันเสียด้วย เราสั่งซุปหรือเกาเหลาปลานวลจันทร์ทะเลมากินตกชามละ 80 บาท อร่อยมากไม่เจอก้างสักอันเลย




       ส่วนที่ตลาด “หงหลง” ในช่วงสายเมื่อคนบางตาแล้ว เราไปดูเขาแปรรูปปลานวลจันทร์ทะเล โดยการตัดหัว ถลกหนัง แล่เนื้อ และทำลูกชิ้นปลานวลจันทร์ทะเล เห็นแล้วประทับใจมาก ที่เขาช่างมีพรสวรรค์และทำได้เร็วมากแถมยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับปลานวลจันทร์อีกเยอะ หัวเอาไปดูด หนังเอาไปทอด เนื้อติดก้างเอาไปทำลูกชิ้น โดยเฉพาะลูกชิ้นปลานวลจันทร์ทะเลของ เขาอร่อยเหาะจริงๆ อยากได้สูตรมาทำขายที่เมืองไทยมากแต่มีข้อแม้ว่าต้องไปอยู่เป็นลูกจ้างเขาที่นู่นก่อน สำหรับเมือง “ปิงตง” เราอยากจะเรียกว่านี่คือเมืองหลวงด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ของไต้หวันเลยทีเดียว เพราะเขาเพาะเลี้ยงปลาหมอทะเล ปลากุเรา ปลากระบอกและปลานวลจันทร์ทะเลกันเป็นธุรกิจใหญ่โตมาก มีโอกาสไปเยี่ยมโรงเพาะฟักปลาหมอทะเลใช้มีเพียงสอง คนแม่ลูกแต่ได้ผลผลิตลูกปลาหมอทะเลมหาศาลแถมยังสะอาดนน่าทำงานมาก ไปดูการเพาพันธุ์ปลากุเราที่เมืองไทยทำปลาเค็มกันเห็นว่าเขาทำมานานแล้วในบ่อดินผนังคอนกรีต เคล็ดลับ สำคัญที่ทำให้ไต้หวันเป็นมือเพาะอันดับต้นๆ ก็คือการผลิตอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน นั่นก็คือเจ้า โรติเฟอร์ ที่การเพาะไม่ต้องใช้เทคนิคยุ่งยากซับซ้อน ไม่มีแม้กระทั่งการให้อากาศแต่ได้ผลผลิต มหาศาลกันเลยทีเดียว แบบนี้เรียกว่าตัวจริงเสียงจริง ผู้น้อยขอคารวะ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น